AiroTEC เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านคุณภาพอากาศ
และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับหน่วยงานเกาหลีใต้ NIER,
องค์การสหประชาติ UNESCAP, GISTDA
และเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทย และลาว

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 อาจารย์ ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี และประธานกรรมการศูนย์ฯ  AiroTEC กล่าวต้อนรับผู้บริหารระดับสูงสุดของสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเกาหลี President Han-Sung Kum และกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม พร้อมกล่าวเปิดงานในการประชุมนานาชาติเชิงปฏิบัติการความร่วมมือด้านคุณภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Workshops and Cooperation on Air Quality and Climate Change) โดยมีสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเกาหลี (NIER) เป็นผู้สนับสนุนหลัก พร้อมทั้งผู้แทนจากองค์การสหประชาชาติ UNESCAP, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA), เครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยจำนวน 12 แห่งได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสปป.ลาวจำนวน 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ มหาวิทยาลัยจำปาสัก

 

เนื้อหาการประชุมมีการนำเสนอถึงสถานการณ์ฝุ่นควัน, เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในประเทศเกาหลีใต้โดย The President Han-Sung Kum ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเกาหลี การนำเสนอปัญหามลพิษทางอากาศและระบบการตรวจสอบในเกาหลีโดย NIER โครงการริเริ่มที่กำลังดำเนินอยู่มุ่งเน้นไปที่ UNESCAP (Clean Air for Blue Sky Asia: CABSA) โดยท่าน Hye Jung, Shin การนำเสนอ Introduction of Asia-AQ (SIJAQ) project in Korea โดยท่าน Lim Seok, Chang สำหรับศูนย์ฯ AiroTEC ได้มีการนำเสนอสถานการณ์ฝุ่นควัน pm2.5 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ภาคเหนือ และอาเซียน และเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดย ดร.รัชพล สัมพุทธานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ AiroTEC และ ดร.ดวงเดือน เทพนวล รองผู้อำนวยการ ศูนย์ฯ AiroTEC สำหรับช่วงการเสวนาแบบ hybrid นำโดย ผศ.ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท รองผู้อำนวยการ ศูนย์ฯ AiroTEC ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมการประชุมซักถาม และหารือถึงความร่วมมือเพื่อให้เกิดการนำองค์ความรู้ ข้อมูล เทคโนโลยีเพื่อเป็นประโยชน์ต่องานวิชาการและเพื่อเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 และปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป

camera

ภาพโดย: CMRU News