คณะอาจารย์พร้อมนักศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ศึกษาดูงานศูนย์ AiroTEC

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิติ เอี่ยมชื่น นำคณะอาจารย์และนักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เดินทางมาศึกษาดูงานและออกปฏิบัติการภาคสนาม ในรายวิชา 224351 การจำลองแบบปรากฏการณ์เชิงพื้นที่ ณ ศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพอากาศที่ดีแห่งเอเชีย (AiroTEC) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังการบรรยายในหัวข้อเรื่อง นวัตกรรมการตรวจวัดคุณภาพอากาศและฝุ่นควัน PM 2.5 เซนเซอร์ adiDUST, เซนเซอร์ Pandora Spectrometer, และข้อมูลดาวเทียมระบบ GEMS


ในการนี้ ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.รัชพล สัมพุทธานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ศภอ. อาจารย์ ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ รับผิดชอบงานด้านบริการวิชาการ งานเครือข่ายความร่วมมือ และงานการต่างประเทศ และอาจารย์วรวิทย์ ศุภวิมุติ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศ เครื่องมือและข้อมูล Pandora ข้อมูลจากดาวเทียมระบบ GEMS ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมพื้นที่ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศภาคพื้นดินแบบสเปคโตรมิเตอร์ระบบ Pandora (Ground Based Remote Sensing) ออกแบบโดยองค์การนาซ่า ซึ่งมีการติดตั้งเพียง 3 แห่งในประเทศไทย คือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดสงขลา เพื่อเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ GEMS ที่ติดตั้งบนดาวเทียม GEOKOMPSAT 2B โดยจะสามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศครอบคลุมพื้นที่ในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้โครงการ “Building the PanAsia Partnership for Geospatial Air Pollution information : PAPGAPi” มีเครือข่ายภาคีในการจัดทำโดย National Environment Research Institute (NEIR), Korea International Cooperation Agency (KOICA)คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียแปซิฟิก (UNESCAP) และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (NASA


ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่ออากาศที่ดีแห่งเอเชีย (ศภอ.) หรือศูนย์ AiroTEC (Asian Air Quality Operations Center by Space Technology, Geoinformatics & Environmental Engineering) โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งมีคณะทำงานประกอบด้วยอาจารย์ นักวิจัย และบุคคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตนเองและมีความสนใจร่วมกันในงานทางด้านอากาศ ทั้งทางวิชาการ งานวิจัย และบริการวิชาการแก่ชุมชน

camera

ภาพโดย: CMRU News